วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การใช้งาน App Inventor

เริ่มต้นเรามารู้จักกับ App Inventor กันก่อนนะครับ
      App Inventor จะเป็นเหมือนเครื่องมือที่ช่วยในการสร้าง Application บนมือถึอที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android โดยที่เราไม่จำเป็นที่จะต้องรู้ โค้ดที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม  ตัวเครื่องมือหรือ App Inventor จะมี บล๊อก ที่รวบรวมคำสั่งต่างๆ เอาไว้ เราก็เพียงแค่ลากบล๊อกเหล่านั้นมาเชื่อมต่อกัน ตามการทำงานที่เราได้ออกแบบไว้ อาจจะเข้าใจยากสักหน่อยสำหรับผู้เริ่มต้นนะครับ แต่เมื่อได้อ่านบทความที่จะเขียนไปเรื่อยๆ ก็จะเข้าใจได้เอง
ก่อนที่เราจะสามารถใช้ App Inventor ได้นั้น เราจะต้องทำตามขั้นตอนทั้ง 3 ขั้นตอนดังนี้ครับ
ขั้นตอนที่ 1
เราจะต้องมีบัญชีของ Google ก่อนนะครับ การสมัครบัญชีของ Google เข้าไปที่เว็บไซต์ http://www.google.co.th กดลงชื่อเข้าสู่ระบบ ด้านขวามือ จากนั้นกดสมัครใช้งาน กรอกข้อมูลของเราลงไป เมื่อเสร็จขั้นตอนนี้เราก็จะมีบัญชีของ Google ไว้ใช้งานแล้วนะครับ
ขั้นตอนที่ 2
ดาวโหลดไฟล์ ไปติดตั้งครับโดยกดคลิ๊กที่นี้ครับ แตกไฟล์ได้แล้วติดตั้งทั้งสองไฟล์เลยครับ
ขั้นตอนที่ 3
เข้าไปที่เว็บไซต์ http://beta.appinventor.mit.edu/ ลงชื่อเข้าใช้ แล้วก็กด my project กด new ก็พร้อมที่จะเริ่มทำงานแล้วนะครับ

การเขียนโปรแกรมบนมือถือ MIT App Inventor

Google ร่วมมือกับ MIT พัฒนาโปรแกรม App Inventor ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรมบนมือถือ Android โดยโปรแกรม นี้จะให้บริการผ่านอินเตอร์เน็ต (App Inventor server) โดยข้อมูลของโปรเจกต่างๆ จากผู้ใช้ จะถูกเก็บไว้ที่เครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการ (Cloud computing)
Google เปิดให้บริการ App Inventor ตั้งแต่ 15 ธ.ค. 2553 ก่อนที่หยุดให้บริการ 31 ธ.ค. 2554 แล้วส่งให้ MIT ทำต่อ โดยเน้นทางด้านการศึกษา ในนามของ MIT App Inventor และเปิดให้ทดลองใช้เมื่อ 4 มี.ค. 2555 
MIT App Inventor สามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนการเขียนโปรแกรมได้เหมือน Scratch แต่กลุ่มเป้าหมายน่าจะเหมาะสมกับเด็กระดับมัธยมปลายมากกว่า ซึ่งเด็กกลุ่มนี้น่าจะมีมือถือกันทุกคน ดังนั้นการเขียนโปรแกรมบนมือถือน่าจะดึงดูดให้พวกเขาสนใจการเขียนโปรแกรมได้ ไม่ยาก
เริ่มต้นเขียนโปรแกรมบนมือถือ Android 
ข้อมูลอ้างอิงจาก http://goo.gl/IKNBik

Google Drive คืออะไร

Google Drive เป็นบริการจาก Google ที่ทำให้เราสามารถนำไฟล์ต่าง ๆ ไปฝากไว้กับ Google ซึ่งทำให้เราสามารถใช้ไฟล์เหล่านั้นที่ไหนก็ได้  ไม่เพียงแค่ฝากไฟล์ได้เท่านั้นคุณยังสามารถ สามารถแบ่งปันไฟล์กับคนที่ต้องการ และสามารถแก้ไขร่วมกันได้จากอุปกรณ์ทุกประเภท

สำหรับพื้นที่ ๆ Google ให้เราใช้บริการฟรีนั้นอยู่ที่ 5 GB และหากต้องการพื้นที่มากขึ้นสามารถอัปเกรดเป็น 25 GB ได้ในราคาไม่ถึงเดือนละ 100 บาท สนใจอ่านวิธีใช้แบบฟรี ๆ ได้เลยครับขั้นตอนการใช้ Google Drive

การใช้งาน Google Drive นั้นเริ่มต้นง่าย ๆ เพียงแค่คุณสมัคร Gmail หากคุณยังไม่เคยสมัคร Gmail แนะนำให้สมัคร เนื่องจากสมัคร Gmail เพียง Account เดียว ทำให้สามารถใช้บริการต่าง ๆ ของ Google ได้อย่างมากมาย รวมถึง Google Drive ด้วย หากท่านใดยังไม่เคยสมัคร คลิกที่นี่ เพื่อสมัคร Gmail และเมื่อสมัครเสร็จเรียบร้อยแล้ว มาดูขั้นตอนการใช้งาน Google Drive กันต่อเลย

เริ่มจากเปิดโปรแกรม Web Browser ของคุณขึ้นมา และเข้าไปที่เว็บไซต์  https://drive.google.com/start?continue=https://drive.google.com/%23#home จากนั้นคลิกปุ่ม ลงชื่อเข้าใช้งาน



ปรากฏหน้าเข้าสู่ระบบขึ้นมา ให้ใส่ชื่อ Email และ Password ของเราลงไป เสร็จแล้วคลิกปุ่ม ลงชื่อเข้าใช้

แบบฟอร์มสำหรับเข้าสู่ระบบ google drive

จะเข้าสู่หน้าเว็บเพจของ Google Drive ซึ่งเพียงเท่านี้ก็สามารถใช้งานได้แล้ว แต่ผมอยากให้คุณ ๆ ได้ลองใช้งานโดยการติดตั้ง Google Drive ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งผมได้ทดลองแล้วรู้สึกชอบเลยนำมาแนะนำให้ได้ลองใช้งานกันดู สำหรับวิธีการนั้นง่ายมาก ๆ โดยเมื่อเข้าสู่หน้าเว็บเพจของ Google Drive เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกที่เมนู ไดรฟ์ของฉัน สังเกตว่าจะมีปุ่มสีฟ้า ๆ ชื่อ ติดตั้ง Google ไดรฟ์สำหรับพีซี อยู่ คลิกที่ปุ่มดังกล่าว 1 ครั้ง

หน้าต่างแสดงการต้อนรับของ google drive

แสดงหน้าต่าง Download Google Drive for Windows  ขึ้นมา คลิกปุ่ม Accept and Install

download โปรแกรม google drive

เข้าสู่กระบวนการติดตั้ง Google Drive

แสดงสถานะกำลัง download google drive

เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วจะปรากฏหน้าต่างตามภาพด้านล่าง

ติดตั้ง google drive เสร็จเรียบร้อยแล้ว

เตรียมพร้อมก่อนใช้ App Inventor

โดยสรุป สิ่งที่ต้องเตรียมความพร้อมก่อนใช้งาน App Inventor คือ
  1. เครื่องคอมพิวเตอร์ และ ระบบปฏิบัติการ
  2. เบราว์เซอร์ ที่ติดตั้ง Java
  3. โปรแกรม App Inventor Setup
  4. ไดรเวอร์ของโทรศัพท์ Android (เฉพาะ Windows)
รายละเอียด
ระบบปฏิบัติการใช้ได้ทั้ง Windows, Mac OS, Linux ส่วนเบราว์เซอร์ (Browser) มีอยู่หลายโปรแกรมดังนี้ (ควรใช้เวอร์ชั่นล่าสุด)
  • Mozilla Firefox 3.6 or higher ถ้าใช้ NoScript extension ต้องปิดการใช้งานตัวนี้ก่อน
  • Apple Safari 5.0 or higher
  • Google Chrome 4.0 or high
  • Microsoft Internet Explorer 7 or higher
App Inventor ต้องใช้ Java 6 (Java 1.6) ขึ้นไป ถ้าไม่มีสามารถดาวน์โหลดได้ที่  http://www.java.com เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้ว สามารถทดสอบ Java ได้โดยคลิกที่ Java test page หรือ AppInventor Java test
จากนั้นติดตั้งโปรแกรม App Inventor Setup สำหรับ Windows ดาวน์โหลดและติดตั้งจากลิงค์นี้ AppInventor_Setup_Installer_v_1_2.exe (~92 MB)
การเตรียมพร้อมคอมพิวเตอร์ให้พร้อมใช้ App Inventor บน Windows  มีความยุ่งยากนิดหน่อย เนื่องจากต้องลงไดรเวอร์ของโทรศัพท์  ส่วน MAC OS หรือ Linux ไม่ต้อง
ถ้าโทรศัพท์ที่จะใช้ เป็นหนึ่งในรายการด้านล่างนี้ ก็ไม่ต้องติดตั้งไดรเวอร์ เพราะมันมาพร้อมกับโปรแกรม App Inventor Setup เรียบร้อยแล้ว
  • T-Mobile G1 / ADP1
  • T-Mobile myTouch 3G / Google Ion / ADP2
  • Verizon Droid (not Droid X)
  • Nexus One
  • Nexus S
ส่วนโทรศัพท์นอกเหนือจากนี้ ต้องติดตั้งไดรเวอร์ (USB driver) จากผู้ผลิตโทรศัพท์แต่ละยี่ห้อ ตรวจสอบได้ ที่นี่
วิธีตรวจสอบว่า ไดรเวอร์ได้ติดตั้งเรียบร้อยแล้ว
  • เปิดหน้าต่าง Command Prompt (cmd) เปลี่ยนไดเรกทอรี่ (cd) ไปยัง  C:\Program Files (x86)\AppInventor\commands-for-Appinventor สำหรับ Windows 32-bit หรือ C:\Program Files\AppInventor\commands-for-Appinventor สำหรับ Windows 64-bit
  • ต่อสาย USB ของโทรศัพท์มือถือเข้ากับคอมพิวเตอร์
  • ที่หน้าต่าง Command Prompt พิมพ์คำสั่ง adb devices จะเห็นข้อความ  daemon not running ตามด้วย daemon stated successfully และ ตามด้วยระหัสโทรศัพท์ที่ต่อกับคอมพิวเตอร์อยู่ เช่น HT99TP800054 แสดงว่าไดรเวอร์ทำงาน และคอมพิวเตอร์ก็สามารถติดต่อกับโทรศัพท์ได้แล้ว
  • แต่ถ้าไม่มีรายชื่อรายการโทรศัพท์เลย แสดงว่าไดรเวอร์ไม่ทำงาน ต้องลองลงไดรเวอร์ใหม่ อาจต้องหาข้อมูลในการลงไดรเวอร์โทรศัพท์รุ่นที่ใช้งานอยู่ ในเน็ต หรือลองดูที่ troubleshooting page หรือค้นจาก App Inventor User Forum ในหัวข้อ Getting set up and connecting your phone
สุดท้ายตรวจที่โทรศัพท์ดูว่าทำงานถูกต้องหรือยัง
  1. แตะปุ่ม Home เพื่อไปยังหน้าต่าง Home
  2. แตะปุ่ม Menu -> Settings -> Applications
  3. ถ้าปรากฎ Unknown sources แตะเลือกที่กล่องสี่เหลี่ยม (ตามรูป)
    Android phone setup 1
  4. แตะเลือก Development
  5. แตะเลือก USB Debugging และ Stay AwakeAndroid phone setup 2
จากนั้นต่อโทรศัพท์เข้ากับคอมพิวเตอร์ด้วยสาย USB จะเห็น 2 ข้อความปรากฎ บริเวณ notifications (ด้านบนของจอโทรศัพท์)
  • USB Connected หมายความว่าโทรศัพท์ต่อกับคอมพิวเตอร์แล้ว
  • USB Debugging Connected หมายถึง App Inventor ในคอมพิวเตอร์เข้าควบคุมโทรศัพท์ได้แล้ว
เท่านี้ก็พร้อมเขียนโปรแกรมแรกกันแล้ว

Google App Engine คืออะไร?

Google App Engine คือ แพลตฟอร์มการพัฒนาและการให้บริการพื้นที่แอปพลิเคชันของ Google ที่เปิดให้ผู้พัฒนา web application สามารถเขียนโปรแกรม เข้าไปเชื่อมต้องกับโครงสร้างข้อมูลของ google ได้มากขึ้น โดยผู้พัฒนานั้นไม่ต้องไปยุ่งยากกับการติดตั้งและตั้งค่า web server เพียงแต่สมัครเข้าใช้งานแล้ว upload source code ไปที่ app engine ของ google เพียงเท่านี้เราก็จะได้ web application ที่จะอิงกับสถาปัตยกรรมของ google ไม่ว่าจะเป็นระบบฐานข้อมูลหรือโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ อาศัยพลังประมวลผลของ google ที่รวดเร็วกว่า ตัดค่าใช้จ่ายและความซับซ้อนในการติดตั้งและจัดการกับเซิร์ฟเวอร์ของตัว เองออกไป
ปัจจุบัน Google App Engine รองรับได้ 3 ภาษาได้แก่ Java, Python และ Go โดยถ้าเป็นการใช้งานแบบฟรี จะมีพื้นที่เก็บข้อมูลให้ 500 MB มี bandwidth และ CPU ที่รองรับได้ 5 ล้าน page view ต่อเดือน ซึ่งก็น่าจะเพียงพอต่อการใช้งานโดยทั่วๆไป ท่านใดสนใจจะทดลองใช้ Google App Engine สามารถศึกษาและสมัครใช้งานได้ที่ http://code.google.com/intl/th-TH/appengine/
ที่มา : http://www.google.com/support/a/bin/answer.py?hl=th&answer=91077

ครั้งแรกกับ Google App Engine เขียนง่ายด้วย Python

ขั้นแรกทำการติดตั้งสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ซะก่อน


1. Google App Engine SDK เข้าไป download ได้ที่http://code.google.com/appengine/downloads.html

2. Python เข้าไป download ได้ที่ http://www.python.org/
ควรอ่านให้ดีนะครับว่า Google App Engin Version ที่เรา download ลงมา ต้องใช้กับ Python version อะไร ถ้ามันถามหา version Python 2.5 ก็ต้องเลือก download python version 2.5 นะครับ อย่าทะลึงเอา version ใหม่กว่านั้น เดียวจะใช้งานไม่ได้ (โดนมากับตัว งง อยู่ตั้งนาน)
เมื่อ download ลงมาแล้วก็ทำการติดตั้งให้เรียบร้อย จากนั้นก็มาเริ่มสร้าง application กันเลย
เข้าไปยัง http://appengine.google.com/ จากนั้นทำการ login เข้าระบบ ถ้ายังไม่มี account ก็สมัครก่อนเลย (ตอนนี้ยังฟรี ต่อไปไม่แน่)
ทำการคลิก Create an Application

ที่มา:http://www.unzeen.com/article/

Google App Engine คือ อะไร

Google App Engine (กู เกิ้ลแอพเอนจิ้น หรือ GAE) คือ Platform ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาและติดตั้งเวบไซต์บน Google Data Centers คู่แข่งของ Google App Engine ในปัจจุบัน ได้แก่ Heroku, Windows Azure เป็นต้น

Google App Engine จัดอยู่ในประเภท Platform as a Service ซึ่งเป็นการให้บริการแบบหนึ่งของ Cloud Computing

ปัจจุบัน (May,2012) Google App Engine รองรับทั้งหมด 3 ภาษา คือ Java, Python, และ Go(อยู่ระหว่างการทดสอบ) โดยภาษา Python จะรองรับทั้งหมด 2​ Version คือ Python 2.5 กับ Python 2.7
Google App Engine จะช่วยให้นักพัฒนาเวบไซต์สามารถติดตั้ง ปรับปรุง และขยายระบบได้อย่างไม่จำกัด โดยที่นักพัฒนาเวบไซต์ไม่จำเป็นต้องรู้เลยว่าเวบของเราอยู่ตรงไหน ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวาง Server หรือ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและดูแล Server โดยปกติแล้ว เวบไซต์เริ่มต้น จะได้ชื่อโดเมนย่อของ appspot.com เช่น example.appspot.com เป็นต้น แต่นักพัฒนาสามารถเลือกชื่อโดเมนเฉพาะได้โดยมีค่าใช้จ่ายเล็กน้อย
ข้อดีของ Google App Engine คือ จ่ายเท่าที่ใช้ (Pay as you use) โดยเริ่มแรกจะฟรีทุกอย่าง ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ไม่มีค่าคิดตั้ง ไม่มีค่าธรรมเนียมครับ โดยครั้งแรกจะให้พื้นที่เวบไซต์ทั้งหมด 1GB และจำกัดการเรียกเวบเพจที่ 5 ล้าน Request ต่อเดือน (ขยายได้สูงสุด 500 Requests-per-second) หากใช้ Quota เกินกว่านั้นก็จะมีค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริง และจำกัด 10 Applications ต่อหนึ่ง Google Account รายละเอียดข้อจำกัดสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ https://developers.google.com/appengine/docs/quotas
ข้อจำกัดของ Google App Engine
  1. Google App Engine อนุญาติให้เข้าถึงไฟล์บน Server อื่นผ่าน URL กับ Email Service เท่านั้น และผู้ใช้ก็เข้าถึงไฟล์บน Google App Engine ผ่านทาง HTTP,HTTPS เท่านั้น
  2. Google App Engine อนุญาติให้ อ่านไฟล์ และ Upload ไฟล์ได้ แต่ไม่สามารถเขียนไฟล์ลงบน File System ได้
  3. แต่ละ Request ต้องตอบสนอง (Response) ภายใน 60 วินาที ในที่นี้ รวมถึง web request, queue task, และ scheduled task โดยแต่ละ Request ไม่สามารถ spawn process ได้ (แตกเป็น sub process หลายๆ อัน)
ระบบเก็บข้อมูลและฐานข้อมูล มี 3 แบบให้เลือกตามการใช้งาน
  1. App Engine Datastore คือ บริการ Database แบบ NoSQL โดยเก็บข้อมูลเป็นแบบ Object
  2. Google Cloud SQL คือ บริการ Database แบบ SQL
  3. Google Cloud Storage คือ บริการพื้นที่จัดเก็บไฟล์บนระบบ Cloud Computing
บริการทั้งหมดบน Google App Engine ที่ Stable แล้ว
  • Backends (PythonJava)
  • Blobstore API (PythonJavaGo)
  • Capabilities API (PythonJavaGo)
  • Channel API (PythonJavaGo)
  • Datastore API (PythonJavaGo)
  • Datastore Async API (PythonJava)
  • XG Transactions (PythonJava)
  • HRD Migration Tool
  • Images API (PythonJava) คือ บริการเกี่ยวกับการจัดการรูปภาพ JPG และ PNG เท่านั้น เช่น Crop, Resize, Rotate, Flip
  • Java Runtime
  • Log Service API (Python)
  • Mail API (PythonJavaGo) ระบบอนุญาติให้ส่งเมล์ผ่าน Server ของ Google ได้
  • Memcache API (PythonJavaGo) บริการนี้จะช่วยให้ User สามารถเข้าถึงเวบไซต์ของเราได้ดียิ่งขึ้น เพราะมีการทำ Cache บน Memory
  • Multitenancy API (PythonJava)
  • New Database Module (NDB)
  • Python 2.5 Runtime
  • Python 2.7 Runtime
  • Remote API (PythonJava)
  • Task Queue API (PythonJavaGo)
  • URLFetch API (PythonJavaGo) ระบบ อนุญาติให้ Applications ของเราสามารถดึงข้อมูลเวบผ่านบริการ URL Fetch ด้วยอินเตอร์เนทความเร็วสูงของ Google เช่น จะใช้ URL Fetch เมื่อ Applications ของเราต้องดึงข้อมูลจาก Web Services จาก Twitter API เป็นต้น
  • Users API (PythonJavaGo)
  • XMPP API (PythonJava)
รายละเอียดเพิ่มเติม
  1. http://en.wikipedia.org/wiki/Google_App_Engine
  2. https://developers.google.com/appengine/
  3. https://developers.google.com/appengine/docs/features