วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การใช้งาน App Inventor

เริ่มต้นเรามารู้จักกับ App Inventor กันก่อนนะครับ
      App Inventor จะเป็นเหมือนเครื่องมือที่ช่วยในการสร้าง Application บนมือถึอที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android โดยที่เราไม่จำเป็นที่จะต้องรู้ โค้ดที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม  ตัวเครื่องมือหรือ App Inventor จะมี บล๊อก ที่รวบรวมคำสั่งต่างๆ เอาไว้ เราก็เพียงแค่ลากบล๊อกเหล่านั้นมาเชื่อมต่อกัน ตามการทำงานที่เราได้ออกแบบไว้ อาจจะเข้าใจยากสักหน่อยสำหรับผู้เริ่มต้นนะครับ แต่เมื่อได้อ่านบทความที่จะเขียนไปเรื่อยๆ ก็จะเข้าใจได้เอง
ก่อนที่เราจะสามารถใช้ App Inventor ได้นั้น เราจะต้องทำตามขั้นตอนทั้ง 3 ขั้นตอนดังนี้ครับ
ขั้นตอนที่ 1
เราจะต้องมีบัญชีของ Google ก่อนนะครับ การสมัครบัญชีของ Google เข้าไปที่เว็บไซต์ http://www.google.co.th กดลงชื่อเข้าสู่ระบบ ด้านขวามือ จากนั้นกดสมัครใช้งาน กรอกข้อมูลของเราลงไป เมื่อเสร็จขั้นตอนนี้เราก็จะมีบัญชีของ Google ไว้ใช้งานแล้วนะครับ
ขั้นตอนที่ 2
ดาวโหลดไฟล์ ไปติดตั้งครับโดยกดคลิ๊กที่นี้ครับ แตกไฟล์ได้แล้วติดตั้งทั้งสองไฟล์เลยครับ
ขั้นตอนที่ 3
เข้าไปที่เว็บไซต์ http://beta.appinventor.mit.edu/ ลงชื่อเข้าใช้ แล้วก็กด my project กด new ก็พร้อมที่จะเริ่มทำงานแล้วนะครับ

การเขียนโปรแกรมบนมือถือ MIT App Inventor

Google ร่วมมือกับ MIT พัฒนาโปรแกรม App Inventor ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรมบนมือถือ Android โดยโปรแกรม นี้จะให้บริการผ่านอินเตอร์เน็ต (App Inventor server) โดยข้อมูลของโปรเจกต่างๆ จากผู้ใช้ จะถูกเก็บไว้ที่เครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการ (Cloud computing)
Google เปิดให้บริการ App Inventor ตั้งแต่ 15 ธ.ค. 2553 ก่อนที่หยุดให้บริการ 31 ธ.ค. 2554 แล้วส่งให้ MIT ทำต่อ โดยเน้นทางด้านการศึกษา ในนามของ MIT App Inventor และเปิดให้ทดลองใช้เมื่อ 4 มี.ค. 2555 
MIT App Inventor สามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนการเขียนโปรแกรมได้เหมือน Scratch แต่กลุ่มเป้าหมายน่าจะเหมาะสมกับเด็กระดับมัธยมปลายมากกว่า ซึ่งเด็กกลุ่มนี้น่าจะมีมือถือกันทุกคน ดังนั้นการเขียนโปรแกรมบนมือถือน่าจะดึงดูดให้พวกเขาสนใจการเขียนโปรแกรมได้ ไม่ยาก
เริ่มต้นเขียนโปรแกรมบนมือถือ Android 
ข้อมูลอ้างอิงจาก http://goo.gl/IKNBik

Google Drive คืออะไร

Google Drive เป็นบริการจาก Google ที่ทำให้เราสามารถนำไฟล์ต่าง ๆ ไปฝากไว้กับ Google ซึ่งทำให้เราสามารถใช้ไฟล์เหล่านั้นที่ไหนก็ได้  ไม่เพียงแค่ฝากไฟล์ได้เท่านั้นคุณยังสามารถ สามารถแบ่งปันไฟล์กับคนที่ต้องการ และสามารถแก้ไขร่วมกันได้จากอุปกรณ์ทุกประเภท

สำหรับพื้นที่ ๆ Google ให้เราใช้บริการฟรีนั้นอยู่ที่ 5 GB และหากต้องการพื้นที่มากขึ้นสามารถอัปเกรดเป็น 25 GB ได้ในราคาไม่ถึงเดือนละ 100 บาท สนใจอ่านวิธีใช้แบบฟรี ๆ ได้เลยครับขั้นตอนการใช้ Google Drive

การใช้งาน Google Drive นั้นเริ่มต้นง่าย ๆ เพียงแค่คุณสมัคร Gmail หากคุณยังไม่เคยสมัคร Gmail แนะนำให้สมัคร เนื่องจากสมัคร Gmail เพียง Account เดียว ทำให้สามารถใช้บริการต่าง ๆ ของ Google ได้อย่างมากมาย รวมถึง Google Drive ด้วย หากท่านใดยังไม่เคยสมัคร คลิกที่นี่ เพื่อสมัคร Gmail และเมื่อสมัครเสร็จเรียบร้อยแล้ว มาดูขั้นตอนการใช้งาน Google Drive กันต่อเลย

เริ่มจากเปิดโปรแกรม Web Browser ของคุณขึ้นมา และเข้าไปที่เว็บไซต์  https://drive.google.com/start?continue=https://drive.google.com/%23#home จากนั้นคลิกปุ่ม ลงชื่อเข้าใช้งาน



ปรากฏหน้าเข้าสู่ระบบขึ้นมา ให้ใส่ชื่อ Email และ Password ของเราลงไป เสร็จแล้วคลิกปุ่ม ลงชื่อเข้าใช้

แบบฟอร์มสำหรับเข้าสู่ระบบ google drive

จะเข้าสู่หน้าเว็บเพจของ Google Drive ซึ่งเพียงเท่านี้ก็สามารถใช้งานได้แล้ว แต่ผมอยากให้คุณ ๆ ได้ลองใช้งานโดยการติดตั้ง Google Drive ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งผมได้ทดลองแล้วรู้สึกชอบเลยนำมาแนะนำให้ได้ลองใช้งานกันดู สำหรับวิธีการนั้นง่ายมาก ๆ โดยเมื่อเข้าสู่หน้าเว็บเพจของ Google Drive เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกที่เมนู ไดรฟ์ของฉัน สังเกตว่าจะมีปุ่มสีฟ้า ๆ ชื่อ ติดตั้ง Google ไดรฟ์สำหรับพีซี อยู่ คลิกที่ปุ่มดังกล่าว 1 ครั้ง

หน้าต่างแสดงการต้อนรับของ google drive

แสดงหน้าต่าง Download Google Drive for Windows  ขึ้นมา คลิกปุ่ม Accept and Install

download โปรแกรม google drive

เข้าสู่กระบวนการติดตั้ง Google Drive

แสดงสถานะกำลัง download google drive

เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้วจะปรากฏหน้าต่างตามภาพด้านล่าง

ติดตั้ง google drive เสร็จเรียบร้อยแล้ว

เตรียมพร้อมก่อนใช้ App Inventor

โดยสรุป สิ่งที่ต้องเตรียมความพร้อมก่อนใช้งาน App Inventor คือ
  1. เครื่องคอมพิวเตอร์ และ ระบบปฏิบัติการ
  2. เบราว์เซอร์ ที่ติดตั้ง Java
  3. โปรแกรม App Inventor Setup
  4. ไดรเวอร์ของโทรศัพท์ Android (เฉพาะ Windows)
รายละเอียด
ระบบปฏิบัติการใช้ได้ทั้ง Windows, Mac OS, Linux ส่วนเบราว์เซอร์ (Browser) มีอยู่หลายโปรแกรมดังนี้ (ควรใช้เวอร์ชั่นล่าสุด)
  • Mozilla Firefox 3.6 or higher ถ้าใช้ NoScript extension ต้องปิดการใช้งานตัวนี้ก่อน
  • Apple Safari 5.0 or higher
  • Google Chrome 4.0 or high
  • Microsoft Internet Explorer 7 or higher
App Inventor ต้องใช้ Java 6 (Java 1.6) ขึ้นไป ถ้าไม่มีสามารถดาวน์โหลดได้ที่  http://www.java.com เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้ว สามารถทดสอบ Java ได้โดยคลิกที่ Java test page หรือ AppInventor Java test
จากนั้นติดตั้งโปรแกรม App Inventor Setup สำหรับ Windows ดาวน์โหลดและติดตั้งจากลิงค์นี้ AppInventor_Setup_Installer_v_1_2.exe (~92 MB)
การเตรียมพร้อมคอมพิวเตอร์ให้พร้อมใช้ App Inventor บน Windows  มีความยุ่งยากนิดหน่อย เนื่องจากต้องลงไดรเวอร์ของโทรศัพท์  ส่วน MAC OS หรือ Linux ไม่ต้อง
ถ้าโทรศัพท์ที่จะใช้ เป็นหนึ่งในรายการด้านล่างนี้ ก็ไม่ต้องติดตั้งไดรเวอร์ เพราะมันมาพร้อมกับโปรแกรม App Inventor Setup เรียบร้อยแล้ว
  • T-Mobile G1 / ADP1
  • T-Mobile myTouch 3G / Google Ion / ADP2
  • Verizon Droid (not Droid X)
  • Nexus One
  • Nexus S
ส่วนโทรศัพท์นอกเหนือจากนี้ ต้องติดตั้งไดรเวอร์ (USB driver) จากผู้ผลิตโทรศัพท์แต่ละยี่ห้อ ตรวจสอบได้ ที่นี่
วิธีตรวจสอบว่า ไดรเวอร์ได้ติดตั้งเรียบร้อยแล้ว
  • เปิดหน้าต่าง Command Prompt (cmd) เปลี่ยนไดเรกทอรี่ (cd) ไปยัง  C:\Program Files (x86)\AppInventor\commands-for-Appinventor สำหรับ Windows 32-bit หรือ C:\Program Files\AppInventor\commands-for-Appinventor สำหรับ Windows 64-bit
  • ต่อสาย USB ของโทรศัพท์มือถือเข้ากับคอมพิวเตอร์
  • ที่หน้าต่าง Command Prompt พิมพ์คำสั่ง adb devices จะเห็นข้อความ  daemon not running ตามด้วย daemon stated successfully และ ตามด้วยระหัสโทรศัพท์ที่ต่อกับคอมพิวเตอร์อยู่ เช่น HT99TP800054 แสดงว่าไดรเวอร์ทำงาน และคอมพิวเตอร์ก็สามารถติดต่อกับโทรศัพท์ได้แล้ว
  • แต่ถ้าไม่มีรายชื่อรายการโทรศัพท์เลย แสดงว่าไดรเวอร์ไม่ทำงาน ต้องลองลงไดรเวอร์ใหม่ อาจต้องหาข้อมูลในการลงไดรเวอร์โทรศัพท์รุ่นที่ใช้งานอยู่ ในเน็ต หรือลองดูที่ troubleshooting page หรือค้นจาก App Inventor User Forum ในหัวข้อ Getting set up and connecting your phone
สุดท้ายตรวจที่โทรศัพท์ดูว่าทำงานถูกต้องหรือยัง
  1. แตะปุ่ม Home เพื่อไปยังหน้าต่าง Home
  2. แตะปุ่ม Menu -> Settings -> Applications
  3. ถ้าปรากฎ Unknown sources แตะเลือกที่กล่องสี่เหลี่ยม (ตามรูป)
    Android phone setup 1
  4. แตะเลือก Development
  5. แตะเลือก USB Debugging และ Stay AwakeAndroid phone setup 2
จากนั้นต่อโทรศัพท์เข้ากับคอมพิวเตอร์ด้วยสาย USB จะเห็น 2 ข้อความปรากฎ บริเวณ notifications (ด้านบนของจอโทรศัพท์)
  • USB Connected หมายความว่าโทรศัพท์ต่อกับคอมพิวเตอร์แล้ว
  • USB Debugging Connected หมายถึง App Inventor ในคอมพิวเตอร์เข้าควบคุมโทรศัพท์ได้แล้ว
เท่านี้ก็พร้อมเขียนโปรแกรมแรกกันแล้ว

Google App Engine คืออะไร?

Google App Engine คือ แพลตฟอร์มการพัฒนาและการให้บริการพื้นที่แอปพลิเคชันของ Google ที่เปิดให้ผู้พัฒนา web application สามารถเขียนโปรแกรม เข้าไปเชื่อมต้องกับโครงสร้างข้อมูลของ google ได้มากขึ้น โดยผู้พัฒนานั้นไม่ต้องไปยุ่งยากกับการติดตั้งและตั้งค่า web server เพียงแต่สมัครเข้าใช้งานแล้ว upload source code ไปที่ app engine ของ google เพียงเท่านี้เราก็จะได้ web application ที่จะอิงกับสถาปัตยกรรมของ google ไม่ว่าจะเป็นระบบฐานข้อมูลหรือโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ อาศัยพลังประมวลผลของ google ที่รวดเร็วกว่า ตัดค่าใช้จ่ายและความซับซ้อนในการติดตั้งและจัดการกับเซิร์ฟเวอร์ของตัว เองออกไป
ปัจจุบัน Google App Engine รองรับได้ 3 ภาษาได้แก่ Java, Python และ Go โดยถ้าเป็นการใช้งานแบบฟรี จะมีพื้นที่เก็บข้อมูลให้ 500 MB มี bandwidth และ CPU ที่รองรับได้ 5 ล้าน page view ต่อเดือน ซึ่งก็น่าจะเพียงพอต่อการใช้งานโดยทั่วๆไป ท่านใดสนใจจะทดลองใช้ Google App Engine สามารถศึกษาและสมัครใช้งานได้ที่ http://code.google.com/intl/th-TH/appengine/
ที่มา : http://www.google.com/support/a/bin/answer.py?hl=th&answer=91077

ครั้งแรกกับ Google App Engine เขียนง่ายด้วย Python

ขั้นแรกทำการติดตั้งสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ซะก่อน


1. Google App Engine SDK เข้าไป download ได้ที่http://code.google.com/appengine/downloads.html

2. Python เข้าไป download ได้ที่ http://www.python.org/
ควรอ่านให้ดีนะครับว่า Google App Engin Version ที่เรา download ลงมา ต้องใช้กับ Python version อะไร ถ้ามันถามหา version Python 2.5 ก็ต้องเลือก download python version 2.5 นะครับ อย่าทะลึงเอา version ใหม่กว่านั้น เดียวจะใช้งานไม่ได้ (โดนมากับตัว งง อยู่ตั้งนาน)
เมื่อ download ลงมาแล้วก็ทำการติดตั้งให้เรียบร้อย จากนั้นก็มาเริ่มสร้าง application กันเลย
เข้าไปยัง http://appengine.google.com/ จากนั้นทำการ login เข้าระบบ ถ้ายังไม่มี account ก็สมัครก่อนเลย (ตอนนี้ยังฟรี ต่อไปไม่แน่)
ทำการคลิก Create an Application

ที่มา:http://www.unzeen.com/article/

Google App Engine คือ อะไร

Google App Engine (กู เกิ้ลแอพเอนจิ้น หรือ GAE) คือ Platform ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาและติดตั้งเวบไซต์บน Google Data Centers คู่แข่งของ Google App Engine ในปัจจุบัน ได้แก่ Heroku, Windows Azure เป็นต้น

Google App Engine จัดอยู่ในประเภท Platform as a Service ซึ่งเป็นการให้บริการแบบหนึ่งของ Cloud Computing

ปัจจุบัน (May,2012) Google App Engine รองรับทั้งหมด 3 ภาษา คือ Java, Python, และ Go(อยู่ระหว่างการทดสอบ) โดยภาษา Python จะรองรับทั้งหมด 2​ Version คือ Python 2.5 กับ Python 2.7
Google App Engine จะช่วยให้นักพัฒนาเวบไซต์สามารถติดตั้ง ปรับปรุง และขยายระบบได้อย่างไม่จำกัด โดยที่นักพัฒนาเวบไซต์ไม่จำเป็นต้องรู้เลยว่าเวบของเราอยู่ตรงไหน ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวาง Server หรือ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและดูแล Server โดยปกติแล้ว เวบไซต์เริ่มต้น จะได้ชื่อโดเมนย่อของ appspot.com เช่น example.appspot.com เป็นต้น แต่นักพัฒนาสามารถเลือกชื่อโดเมนเฉพาะได้โดยมีค่าใช้จ่ายเล็กน้อย
ข้อดีของ Google App Engine คือ จ่ายเท่าที่ใช้ (Pay as you use) โดยเริ่มแรกจะฟรีทุกอย่าง ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ไม่มีค่าคิดตั้ง ไม่มีค่าธรรมเนียมครับ โดยครั้งแรกจะให้พื้นที่เวบไซต์ทั้งหมด 1GB และจำกัดการเรียกเวบเพจที่ 5 ล้าน Request ต่อเดือน (ขยายได้สูงสุด 500 Requests-per-second) หากใช้ Quota เกินกว่านั้นก็จะมีค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริง และจำกัด 10 Applications ต่อหนึ่ง Google Account รายละเอียดข้อจำกัดสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ https://developers.google.com/appengine/docs/quotas
ข้อจำกัดของ Google App Engine
  1. Google App Engine อนุญาติให้เข้าถึงไฟล์บน Server อื่นผ่าน URL กับ Email Service เท่านั้น และผู้ใช้ก็เข้าถึงไฟล์บน Google App Engine ผ่านทาง HTTP,HTTPS เท่านั้น
  2. Google App Engine อนุญาติให้ อ่านไฟล์ และ Upload ไฟล์ได้ แต่ไม่สามารถเขียนไฟล์ลงบน File System ได้
  3. แต่ละ Request ต้องตอบสนอง (Response) ภายใน 60 วินาที ในที่นี้ รวมถึง web request, queue task, และ scheduled task โดยแต่ละ Request ไม่สามารถ spawn process ได้ (แตกเป็น sub process หลายๆ อัน)
ระบบเก็บข้อมูลและฐานข้อมูล มี 3 แบบให้เลือกตามการใช้งาน
  1. App Engine Datastore คือ บริการ Database แบบ NoSQL โดยเก็บข้อมูลเป็นแบบ Object
  2. Google Cloud SQL คือ บริการ Database แบบ SQL
  3. Google Cloud Storage คือ บริการพื้นที่จัดเก็บไฟล์บนระบบ Cloud Computing
บริการทั้งหมดบน Google App Engine ที่ Stable แล้ว
  • Backends (PythonJava)
  • Blobstore API (PythonJavaGo)
  • Capabilities API (PythonJavaGo)
  • Channel API (PythonJavaGo)
  • Datastore API (PythonJavaGo)
  • Datastore Async API (PythonJava)
  • XG Transactions (PythonJava)
  • HRD Migration Tool
  • Images API (PythonJava) คือ บริการเกี่ยวกับการจัดการรูปภาพ JPG และ PNG เท่านั้น เช่น Crop, Resize, Rotate, Flip
  • Java Runtime
  • Log Service API (Python)
  • Mail API (PythonJavaGo) ระบบอนุญาติให้ส่งเมล์ผ่าน Server ของ Google ได้
  • Memcache API (PythonJavaGo) บริการนี้จะช่วยให้ User สามารถเข้าถึงเวบไซต์ของเราได้ดียิ่งขึ้น เพราะมีการทำ Cache บน Memory
  • Multitenancy API (PythonJava)
  • New Database Module (NDB)
  • Python 2.5 Runtime
  • Python 2.7 Runtime
  • Remote API (PythonJava)
  • Task Queue API (PythonJavaGo)
  • URLFetch API (PythonJavaGo) ระบบ อนุญาติให้ Applications ของเราสามารถดึงข้อมูลเวบผ่านบริการ URL Fetch ด้วยอินเตอร์เนทความเร็วสูงของ Google เช่น จะใช้ URL Fetch เมื่อ Applications ของเราต้องดึงข้อมูลจาก Web Services จาก Twitter API เป็นต้น
  • Users API (PythonJavaGo)
  • XMPP API (PythonJava)
รายละเอียดเพิ่มเติม
  1. http://en.wikipedia.org/wiki/Google_App_Engine
  2. https://developers.google.com/appengine/
  3. https://developers.google.com/appengine/docs/features

เพิ่่มการทำงานอัตโนมัติกับ Google Apps Script



ตอนนี้ Google Apps Script ออกมาให้คนใช้ Premier/Edu Edition ได้ใช้งานแล้ว
Google Apps Script คือ การเพิ่มความสามารถให้กับงานอัตโนมัติที่หลากหลายใน Google Apps จำพวก Workflow เช่นการอ่านและเปลี่ยนค่าใน Google Spreadsheets (เด็กแถวบ้านผมเรียกกูเกิลเอ็กเซล), สร้างนัดหมายใน Google Calendar, ส่งอีเมลอัตโนมัติ และอื่นๆ อีกมากมาย ลองเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ Google Apps Script Overview
ตัวอย่างที่เป็นที่นิยมเช่นสคริปต์การขออนุมัติค่าใช้จ่าย ที่สามารถทำงานจำพวก
  • แปลงค่าเงินอัตโนมัติ
  • ค้นหาอัตราแลกเปลี่ยนในอดีตจากเว็บเซอร์วิสภายนอก
  • ดัก error ทั่วๆไปเช่น ใส่วันที่ผิด, จำนวนเงินขั้นต่ำ เป็นต้น
  • Trigger Business Logic เพื่อที่จะ flag สถานะค่าใช้จ่ายเป็น "รอทวนสอบ"
สคริปต์สามารถตรวจได้ว่ารายการต้องมีการอนุมัติ มันจะส่งคำร้องขอการอนุมัติจากคนที่เกี่ยวข้องให้เอง เมื่ออนุมัติแล้วสคริปต์จะส่งโน้ตไปให้แผนกการเงินเพื่อจ่ายเงิน โดยทั้งหมดนี้ไม่ต้องส่งอีเมลเลยแม้ฉบับเดียว

Google Sync คืออะไร



Google Sync ใช้ Microsoft® Exchange ActiveSync® เพื่อให้ผู้ใช้ของคุณสามารถซิงค์จดหมาย สมุดติดต่อ และปฏิทิน Google Apps ของตนกับโทรศัพท์มือถือ นอกจากนี้ยังสามารถตั้งค่าการแจ้งเตือน (เสียงหรือการสั่น) สำหรับข้อความขาเข้าและการประชุมที่กำลังจะมาถึง
Google Sync ถูกเปิดใช้งานโดยค่าเริ่มต้นในโดเมน Google Apps โดเมน Google Apps for Business, Education และ Government สามารถบังคับใช้นโยบายการรักษาความปลอดภัยกับอุปกรณ์ Google Sync ถ้าต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม โปรดดูที่ การจัดการมือถือของ Google Apps

อุปกรณ์ใดสนับสนุน Google Sync บ้าง

ข้อควรพิจารณา:
  • Google Sync ยังอยู่ในรุ่นเบต้า โปรดอ่าน ปัญหาที่ทราบเกี่ยวกับ iOS ก่อนที่จะเปิดใช้งาน Google Sync กับอุปกรณ์ iOS
  • การตั้งค่าบัญชี ActiveSync ใหม่ในอุปกรณ์ของผู้ใช้อาจนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วในอุปกรณ์ออก สำรองข้อมูลของผู้ใช้ก่อนที่คุณจะตั้งค่า Google Sync ในอุปกรณ์ขอ

คู่มือผู้ใช้ Google Earth สำหรับ iPhone และ iPod touch

การควบคุมทิศทาง

คุณสามารถควบคุมทิศทางผ่านมุมมองภาพ 3 มิติ ของโลกได้หลายวิธี:
แพน วางหนึ่งนิ้วบนหน้าจอ แล้วเลื่อนไปยังทิศทางที่เหมาะสม คุณสามารถเปลี่ยนภาพได้ด้วยการปัดหน้าจออย่างรวดเร็ว
ขยาย
วางสองนิ้วพร้อมกันบนหน้าจอ แล้วเลื่อนนิ้วออกจากกัน หรือแตะหน้าจอสองครั้งด้วยนิ้วเดียว
ย่อ วางสองนิ้วพร้อมกันบนหน้าจอ แล้วเลื่อนนิ้วเข้าหากัน (บีบนิ้ว) หรือใช้ทั้งสองนิ้วแตะหน้าจอสองครั้งพร้อมกัน
หมุน วางสองนิ้วบนหน้าจอ แล้วหมุนไปในทิศทางที่เหมาะสม
ดูรอบๆ วางสองนิ้วไว้ด้วยกันบนหน้าจอ แล้วเลื่อนทั้งสองนิ้วไปในทิศทางใดๆ ตามต้องการ
เอียง
วางสองนิ้วไว้ด้วยกันบนหน้าจอ แล้วเลื่อนทั้งสองนิ้วลง คุณยังสามารถเอียงหน้าจออัตโนมัติได้ด้วย
รีเซ็ตเป็นมุมมองทิศเหนืออยู่ด้านบน
เข็มทิศจะบอกทิศทางที่คุณกำลังมุ่งไป
ไปที่ตำแหน่งของคุณ

Google Earth จะติดตามตำแหน่งของคุณจนกว่าคุณจะไปที่หรือแตะที่ไอคอนตำแหน่งอีกครั้ง
โปรดทราบว่าความแม่นยำของตำแหน่งขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้:
  • อุปกรณ์ของคุณ - iPhone ทุกเครื่องสามารถระบุตำแหน่งของคุณได้จากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต iPhone ที่มี 3G สามารถระบุตำแหน่งของคุณได้โดยใช้เสาส่งสัญญาณใกล้เคียง โทรศัพท์มือถือที่มี 3G ทุกเครื่องสามารถใช้ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System - GPS) เพื่อระบุตำแหน่งของคุณ
  • คุณภาพของสัญญาณ (GPS) - สำหรับ iPhone 3G คุณภาพสัญญาณที่ดีกว่าย่อมสามารถระบุตำแหน่งได้แม่นยำกว่า
แสดงระยะพิกัดและความสูงของคุณ
คุณสามารถปรับเปลี่ยนวิธีแสดงพิกัดละติจูดและลองจิจูดในแบบของคุณด้วยการเลือก ตำแหน่ง จากเมนู ตัวเลือก หากคุณต้องการให้แสดงพิกัดที่ด้านล่างของมุมมองหลัก ให้เปิดตัวเลือก ตำแหน่ง ไว้

หากคุณต้องการปรับวิธีแสดงพิกัดละติจูดและลองจิจูด ให้แตะที่รูปแบบที่ต้องการจากตัวเลือกทั้งสาม

คุณสามารถสลับหน่วยระหว่างฟุตและเมตรในการแสดงระดับความสูงได้เช่นกัน

เอียงมุมมองของคุณ

เมื่อคุณเริ่มใช้งาน Google Earth สำหรับ iPhone ครั้งแรก จะพบว่ามุมมองเริ่มต้นของโลกจะเป็นมุมมองที่ถ่ายจากด้านบน คุณสามารถเอียงมุมมองที่ปรากฏเพื่อดูพื้นที่ที่คุณกำลังสำรวจในมุมมองอื่นๆ คุณสามารถเอียงมุมมองได้ถึง 120 องศา ซึ่งจะแสดงมุมมองที่อาจมองเห็นขอบฟ้า


เมื่อต้องการเลื่อนเส้นขอบฟ้าลง ให้วางสองนิ้วชิดกันบนหน้าจอ แล้วเลื่อนทั้งสองนิ้วลง เมื่อต้องการเลื่อนเส้นขอบฟ้าขึ้น ให้วางสองนิ้วชิดกันบนหน้าจอ แล้วเลื่อนทั้งสองนิ้วขึ้น


เมื่อเปิดใช้งาน เอียงอัตโนมัติ เวลาคุณเอียงอุปกรณ์จากมุมมองด้านบนมาเป็นด้านข้าง มุมมองใน Google Earth ของคุณจะเอียงตามเพื่อให้ตรงกัน


เปิด/ปิดการเอียงอัตโนมัติ
คุณสามารถเปิดหรือปิด เอียงอัตโนมัติ จากในหน้าต่าง ตัวเลือก

การค้นหาสถานที่และธุรกิจ

ค้นหา



ถ้าการค้นหาแสดงผลลัพธ์หลายรายการ ให้แตะผลลัพธ์ที่ต้องการเพื่อไปยังสถานที่ดังกล่าว หรือดูรายการผลลัพธ์โดยแตะที่ไอคอนรายการที่มุมขวาของ ช่องค้นหา

ในปัจจุบัน การค้นหาระดับถนนใช้ได้เฉพาะบางประเทศเท่านั้น เรียนรู้เพิ่มเติม

ล้างผลการค้นหา
แตะ ล้างประวัติการค้นหา (ดูด้านล่าง)
เคล็ดลับ - ขณะไปยังสถานที่ที่แตะเลือกไว้ในผลการค้นหา ให้แตะหน้าจอเพื่อหยุดหากคุณต้องการยกเลิก

การแสดงเนื้อหา

คุณสามารถแสดงเนื้อหาทางภูมิศาสตร์ที่น่าสนใจซึ่งอยู่ภายในพื้นที่ที่คุณ กำลังดูอยู่ ซึ่งประกอบด้วยสถานที่ที่น่าสนใจ (สถานที่), ธุรกิจ, ภาพถ่ายบน Panoramio, Wikipedia, ชายแดนและป้ายกำกับ และภูมิประเทศ
แสดงเนื้อหา


ภายใต้ ตัวเลือก คุณสามารถเปิดหรือปิดการใช้งานเลเยอร์เนื้อหาที่แสดงโดยการสลับระหว่างวงกลมกับลูกศร


ภายใต้ ตัวเลือก คุณสามารถเข้าถึงเนื้อหาแผนที่ของฉันที่คุณสร้างขึ้นหรือเข้าสู่ระบบด้วยบัญชีแผนที่ของฉัน
เมื่อคุณเปิดใช้งานเนื้อหาที่ต้องการแล้ว บางเนื้อหาจะปรากฏเป็นไอคอนในมุมมองหลัก แตะไอคอนที่คุณต้องการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
หลังจากเปิดใช้งานเนื้อหานี้ คุณสามารถแตะไอคอนต่างๆ ในมุมมองหลักเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม คุณอาจจำเป็นต้องขยายเพื่อดูไอคอนสถานที่เพิ่มเติมทั้งหมดในพื้นที่ใด พื้นที่หนึ่ง เมื่อเปิดใช้งานภูมิประเทศ คุณสามารถดูภูมิประเทศที่เป็นเนินเขาหรือเทือกเขาได้ในรูปแบบ 3 มิติ

แคชและประวัติการค้นหา

ล้างแคชและประวัติการค้นหา

Google Earth จัดเก็บภาพและข้อมูลต่างๆ ที่คุณเรียกดูเอาไว้ จึงสามารถแสดงข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็วเมื่อคุณควบคุมทิศทางไปยัง พื้นที่เหล่านี้ในครั้งถัดไป ข้อมูลที่จัดเก็บไว้นี้เรียกว่า แคช


คุณสามารถกู้คืนพื้นที่หน่วยความจำบางส่วนด้วยการล้างแคช แม้วิธีนี้จะทำให้ Google Earth แสดงภาพจากสถานที่ต่างๆ ที่เคยจัดเก็บไว้ได้ช้าลง จนกว่า Google Earth จะดาวน์โหลดข้อมูลนี้อีกครั้ง


หากคุณต้องการล้างแคช ให้แตะ ล้างแคช ในหน้าต่าง ตัวเลือก กล่องโต้ตอบสำหรับยืนยันจะปรากฏขึ้น แตะล้างแคช


คุณสามารถล้างประวัติการ ค้นหาของคุณได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้การค้นหาก่อนหน้านี้ปรากฏเป็นการแนะนำคำค้นหาในช่อง ค้นหา และล้างผลการค้นหาในปัจจุบันของคุณ


หากคุณต้องการล้างประวัติการค้นหา ให้แตะ ประวัติการค้นหา จากในหน้าต่าง ตัวเลือก กล่องโต้ตอบสำหรับยืนยันจะปรากฏขึ้น แตะล้างประวัติ

5 สิ่งยอดเยี่ยมที่คุณสามารถทำได้ง่ายๆ ใน Google Earth

ต้องการเข้าใช้งานและเริ่มต้นความสนุกสนานไปกับ Google Earth? ลองวิธีดังต่อไปนี้
 
  1. ดูภาพบ้านของคุณ โรงเรียน หรือสถานที่ใดก็ได้บนโลกใบนี้ - คลิกที่ บินไปที่ ป้อนตำแหน่งในช่องป้อนข้อมูล และคลิกที่ปุ่ม ค้นหา ในผลการค้นหา (แผงสถานที่) ให้ดับเบิลคลิกที่ตำแหน่ง Google Earth จะพาคุณบินไปที่ตำแหน่งนี้
    ปุ่มค้นหา ปุ่มค้นหา
  2. ท่องโลก - ในแผงสถานที่ ให้เปิดโฟลเดอร์ เรียนรู้และสำรวจ และดับเบิลคลิกที่ สำรวจ
  3. หาเส้นทางการขับขี่จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง และบินไปตามเส้นทาง - โปรดดูที่ การหาเส้นทาง และ การเดินทางไปตามเส้นทาง
  4. ดูสถานที่และลักษณะรูปร่างที่ยอดเยี่ยมที่สร้างโดยผู้ใช้รายอื่นของ Google Earth - ในแผงเลเยอร์ เข้าไปดูที่ หน้าแสดงของชุมชน เครื่องหมายบอกตำแหน่งและลักษณะรูปร่างอื่นๆ ที่น่าสนใจจะปรากฏขึ้นในมุมมองภาพ 3 มิติ ดับเบิลคลิกจุดที่น่าสนใจเหล่านี้เพื่อดูและสำรวจ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ การใช้จุดที่น่าสนใจ (POI)
  5. ดูภาพภูมิประเทศของสถานที่ในแบบ 3 มิติ - คุณลักษณะนี้ช่วยเพิ่มความสนุกมากขึ้นสำหรับการดูภูมิประเทศที่เป็นเนินเขา หรือภูเขา เช่น แกรนด์แคนยอน ไปยังตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง (ดู ข้อ ) เมื่อมุมมองแสดงตำแหน่งนั้นแล้ว ให้ใช้แถบเลื่อนการซูมเพื่อเอียงภูมิประเทศ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ การใช้ตัวควบคุมทิศทาง และ การเอียงและการดูภูมิประเทศที่เป็นภูเขา

Google map คืออะไร ?


Google maps คือ บริการเกี่ยวกับแผนที่ ผ่านเว็บบราวเซอร์ ของ Google
เราสามารถเปิดเว็บไซต์จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ เพื่อ เปิดใช้ บริการแผนที่ของ Google maps

ความสามารถของ Google maps กับงานช่าง และงานท้องถิ่น

1. สามารถใช้วางแผนการเดินทางได้
2. สามารถตรวจสอบระยะทางถนนได้
3. สามารถตรวจสอบความกว้างยาว ของพื้นที่ ต่างๆ ได้
4. สามารถตรวจสอบเนื้อที่ ของพื้นที่ ที่เราต้องการได้
5. สามารถนำแผนที่ไปใช้งานได้ในเว็บของเราเอง เช่นกำหนดที่ตั้งของ อบต.
6. สามารถประยุกต์สร้างฐานข้อมูลเพื่อการใช้งานเช่น ระบบแผนที่ภาษีได้

เพียงความสามารถเหล่านี้ ก็ยั่วยวนใจแล้วใช่ไหมครับที่จะทำให้เราอยากใช้ Google maps

Google Maps vs Apple Maps

เปรียบเทียบการทำงาน ระหว่าง Google Maps และ Apple Maps บน iOS ทั้งเรื่องรายละเอียดของแผนที่ การค้นหาเส้นทาง นำทาง และอื่นๆ

ถ้าจะกล่าวว่า Apple Maps ยังใช้งานได้ไม่ดีเท่า Google Maps ก็คงไม่ยุติธรรมซักเท่าไหร่ เนื่องจาก Apple Maps บน iOS 6 (เฉพาะนักพัฒนาที่สามารถดาวน์โหลดได้ตอนนี้) ยังเป็นเวอร์ชั่นแบบ beta อยู่ ซึ่งคงจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกมากในอนาคต
ถ้าถามว่า การใช้งานระหว่าง Apple Maps และ Google Maps นั้น แตกต่างกันมากน้อยขนาดไหน ต้องบอกว่า ไม่ต่างกันครับ เพียงแต่ว่า ในตอนนี้ รายละเอียดบางจุดบน Apple Maps นั้น ยังคงไม่สามารถเทียบเท่า Google Maps ได้ แต่ถ้าหากพูดเรื่องของการค้นหาเส้นทาง หรือนำทาง ต้องบอกว่า ใช้งานได้ดีไม่แพ้กัน เพียงแต่ว่า Apple Maps นั้น มีระบบการนำทางแบบ Turn-by-turn ซึ่งสะดวกกว่า Google Maps นั่นเอง
ส่วนการแสดงผลแบบ 3 มิตินั้น จริงๆ แล้ว ทางฝั่งของ Google Maps ก็มีครับ เพียงแต่ว่าในตอนนี้ยังไม่เปิดให้ใช้งานเท่านั้นเอง แต่สิ่งที่ Apple Maps เป็นรอง Google Maps ก็คือ Apple Maps ไม่มี Street View ครับ :)


---------------------------------------
บทความโดย : techmoblog.com


What is App Inventor?

                  What is App Inventor?




               App Inventor เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับสร้างแอพพลิเคชันสำหรับสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่ เป็นระบบปฏิบัติการ Android ซึ่งบริษัท Google ร่วมมือกับ MIT พัฒนาโปรแกรม App inventor ขึ้น ต่อมา Google ถอนตัวออกมาและยกให้ MIT พัฒนาต่อเอง (โดยเน้นกลุ่มผู้ใช้ด้านการศึกษามากกว่า) ในนาม MIT App inventor
App inventor ใช้หลักการคล้ายๆ กับ Scratch แต่ซับซ้อนกว่า โดยลักษณะการเขียนโปรแกรมแบบ Visual Programming  คือ เขียนโปรแกรมด้วยการต่อบล็อกคำสั่ง เน้นการออกแบบเพื่อแก้ปัญหา (problem solving) ด้วยการสร้างโปรแกรมที่ผู้เรียนสนใจ บนโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน (สมัยนี้สมาร์ทโฟนใช้กันทั่วไปอยู่แล้ว โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่น)
App inventor จึงเป็นอีกโปรแกรมหนึ่ง ที่เหมาะสำหรับใช้ในการสอนเขียนโปรแกรม ให้นักเรียนในระดับมัธยมปลาย หรือระดับมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยเขียนโปรแกรมมาก่อนหรือไม่ได้เรียนอยู่ในสาย คอมพิวเตอร์การเขียนโปรแกรมบนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต Android ด้วย App inventor ในภาพรวมแสดงได้ตามรูปล่างนี้





App Inventor servers เป็นเครื่องที่ให้บริการและเก็บงานโปรเจกต่างๆ ที่ผู้ใช้สร้างขึ้นมา ผู้ใช้พัฒนาโปรแกรมมือถือ Android โดยสร้างโปรเจกและเขียนโปรแกรมบนเว็บเบราว์เซอร์ ที่เชื่อมต่อไปยัง App Inventor servers เมื่อได้โปรแกรมมา ก็สามารถทดสอบกับโปรแกรมมือถือจำลอง (Android emulator) หรือโทรศัพท์มือถือ Android จริงๆ ก็ได้
ขั้นตอนการสร้างโปรแกรม (ตามภาพ) เริ่มจากออกแบบหน้าตาโปรแกรมบนมือถือ ด้วยโปรแกรม App Inventor Designer ซึ่งใช้สำหรับสร้างส่วนโปรแกรมต่างๆ (components) เพื่อใช้งานในโปรแกรมมือถือที่จะสร้างขึ้น
จากนั้นเขียนโปรแกรมให้แต่ละส่วนโปรแกรม ด้วยโปรแกรม App Inventor Blocks Editor ซึ่งใช้วิธีการต่อบล็อกคำสั่ง เพื่อให้ส่วนโปรแกรมนั้นๆ ทำหน้าที่ของมัน ตามที่ออกแบบเอาไว้
ระหว่างเขียนโปรแกรม อาจมีการแก้ไข เพิ่มเติม หรือลบบางส่วนโปรแกรมออกไป ทำให้ต้องแก้ไขโปรแกรม (debug) จนกว่าจะได้โปรแกรมตามที่ออกแบบไว้ เมื่อทุกส่วนโปรแกรมถูกสร้างเสร็จแล้ว ก็ได้เวลาทดสอบการใช้งาน โดยการติดตั้งโปรแกรมลงไปบนมือถือ Android แล้วทดสอบการใช้งานผ่านมือถือจริงๆ  แต่ถ้าไม่มีมือถือ ก็ยังสามารถทดสอบได้ ผ่านโปรแกรมมือถือจำลอง (Android emulator) ในคอมพิวเตอร์แทน
ที่มา : http://kidsangsan.com

Google App Engine (กู เกิ้ลแอพเอนจิ้น หรือ GAE) คือ Platform ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาและติดตั้งเวบไซต์บน Google Data Centers คู่แข่งของ Google App Engine ในปัจจุบัน ได้แก่ Heroku, Windows Azure เป็นต้น

Google App Engine จัดอยู่ในประเภท Platform as a Service ซึ่งเป็นการให้บริการแบบหนึ่งของ Cloud Computing

            ปัจจุบัน (May,2012) Google App Engine รองรับทั้งหมด 3 ภาษา คือ Java, Python, และ Go(อยู่ระหว่างการทดสอบ) โดยภาษา Python จะรองรับทั้งหมด 2​ Version คือ Python 2.5 กับ Python 2.7
Google App Engine จะช่วยให้นักพัฒนาเวบไซต์สามารถติดตั้ง ปรับปรุง และขยายระบบได้อย่างไม่จำกัด โดยที่นักพัฒนาเวบไซต์ไม่จำเป็นต้องรู้เลยว่าเวบของเราอยู่ตรงไหน ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวาง Server หรือ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและดูแล Server โดยปกติแล้ว เวบไซต์เริ่มต้น จะได้ชื่อโดเมนย่อของ appspot.com เช่น example.appspot.com เป็นต้น แต่นักพัฒนาสามารถเลือกชื่อโดเมนเฉพาะได้โดยมีค่าใช้จ่ายเล็กน้อย            ข้อดีของ Google App Engine คือ จ่ายเท่าที่ใช้ (Pay as you use) โดยเริ่มแรกจะฟรีทุกอย่าง ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ไม่มีค่าคิดตั้ง ไม่มีค่าธรรมเนียมครับ โดยครั้งแรกจะให้พื้นที่เวบไซต์ทั้งหมด 1GB และจำกัดการเรียกเวบเพจที่ 5 ล้าน Request ต่อเดือน (ขยายได้สูงสุด 500 Requests-per-second) หากใช้ Quota เกินกว่านั้นก็จะมีค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริง และจำกัด 10 Applications ต่อหนึ่ง Google Account รายละเอียดข้อจำกัดสามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ https://developers.google.com/appengine/docs/quotas